โปรแกรม Picasa

วันพุธที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

หลักการจัดระเบียบบริหารราชการ

  
1.หลักการรวมอำนาจ(Centralization)
2.หลักการแบ่งอำนาจ(Deconcentration)
3.หลักการกระจายอำนาจ(Decentralization)
ความหมายของหลักการรวมอำนาจ
       การจัดวางระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน โดยรวมอำนาจการปกครองไว้ให้แก่หน่วยงานบริหารราชการส่วนกลาง และมีเจ้าหน้าที่ของหน่วยการบริหารราชการส่วนกลาง โดยให้ขึ้นต่อกันตามลำดับชั้นการบังคับบัญชาตลอดทั่วทั้งประเทศ และรักษาไว้ซึ่งเอกภาพในการปกครอง  รวมทั้งความมั่นคงปลอดภัยของประเทศเป็นสำคัญ
ลักษณะสำคัญของหลักการรวมอำนาจ
-มีการรวมกำลังทหารและกำลังตำรวจให้ขึ้นต่อส่วนกลาง
-มีการรวมอำนาจในการวินิจฉัยสั่งการไว้ในส่วนกลาง
-การลำดับชั้นการบังคับบัญชาเจ้าหน้าที่ลดหลั่นกันไป
ความหมายของหลักการแบ่งอำนาจ
       หลักการบริหารราชการที่ส่วนกลางได้จัดแบ่งและมอบอำนาจวินิจฉัยสั่งการบางส่วนไปให้แก่เจ้าหน้าที่หน่วยการบริหารราชการส่วนกลางที่เป็นตัวแทนซึ่งได้ส่งออกไปประจำอยู่ในเขตปกครองส่วนภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศ
ลักษณะสำคัญของการแบ่งอำนาจ
-ต้องมีรัฐบาลซึ่งเป็นการบริหารราชการ การแบ่งอำนาจเป็นกระบวนการหนึ่งของการรวมอำนาจปกครอง
-มีหน้าที่ซึ่งเป็นตัวแทนของส่วนกลางส่งออกไปปฏิบัติหน้าที่
-ส่วนกลางแบ่งและมอบอำนาจในการบริหารราชการงานบางส่วนบางเรื่องโดยแบ่งมอบไปให้เจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นตัวแทนของส่วนกลาง  ซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ตามเขตการปกครองท้องที่ต่าง ๆ มิได้ตัดอำนาจจากส่วนกลางอย่างเด็ดขาด
ความหมายของหลักการกระจายอำนาจ
       เป็นวิธีที่รัฐมอบอำนาจปกครองบางส่วนให้แก่องค์การอื่นที่ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของหน่วยการบริหารราชการส่วนกลางไปจัดทำบริการสาธารณะบางอย่างโดยมีอิสระตามสมควร
ลักษณะสำคัญของหลักการกระจายอำนาจ
-มีการจัดตั้งองค์การขึ้นเป็นนิติบุคคลเพิ่มขึ้นจากส่วนกลาง
-การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น
-มีอำนาจอิสระในการปกครองตนเองได้ตามสมควร (Autonomy)
-มีงบประมาณและรายได้เป็นของท้องถิ่น
-มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานที่เป็นของท้องถิ่นของตนเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น