โปรแกรม Picasa

วันอังคารที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ประวัติการปฏิวัติ รัฐประหารในประเทศไทย

        
       รูปแบบของการจลาจลกบฏ ปฏิวัติหรือรัฐประหารความหมายของคำเหล่านี้เหมือนกันในแง่ที่ว่าเป็นการใช้กำลังอาวุธยึดอำนาจทางการเมืองแต่มีความหมายต่างกันในด้านผลของการใช้กำลังความรุนแรงนั้น หากทำการไม่สำเร็จจะถูกเรียกว่า กบฏ จลาจล (rebellion) ถ้าการยึดอำนาจนั้นสัมฤทธิผล และเปลี่ยนเพียงรัฐบาลเรียกว่า รัฐประหาร (coupd etat) แต่ถ้ารัฐบาลใหม่ได้ทำการเปลี่ยนแปลงมูลฐานระบอบการปกครอง ก็นับว่าเป็น  การปฏิวัติครั้งสำคัญๆ ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป ได้แก่
- การปฏิวัติใหญ่ของฝรั่งเศส ค.ศ.1789
- การปฏิวัติในรัสเซีย ค.ศ.1917
- การปฏิวัติของจีนในปี ค.ศ.1949
- การปฏิวัติในคิวบา ค.ศ.1952
       ในการเมืองไทยคำว่า ปฏิวัติ กับ รัฐประหาร มักใช้ปะปนกัน แล้วแต่ผู้ยึดอำนาจได้นั้นจะเรียกตัวเองว่าอะไร เท่าที่ผ่านมามักนิยมใช้คำว่า ปฏิวัติ เพราะเป็นคำที่ดูขึงขังน่าเกรงขามเพื่อความสะดวกในการธำรงไว้ซึ่งอำนาจที่ได้มานั้น ทั้งที่โดยเนื้อแท้แล้ว นับแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475 ซึ่งอาจถือได้ว่าเป็นการปฏิวัติที่แท้จริงครั้งเดียวที่เกิดขึ้นในประเทศไทย การยึดอำนาจโดยวิธีการใช้กำลังครั้งต่อๆ มาในทางรัฐศาสตร์ถือว่าเป็นเพียงการรัฐประหารเท่านั้น เพราะผู้ยึดอำนาจได้นั้นไม่ได้ทำการเปลี่ยนแปลงหลักการมูลฐานของระบอบการปกครองเลย ดังนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับพฤติกรรมทางการเมืองและมิให้สับสนกับการใช้ชื่อเรียกตัวเองของคณะที่ทำการยึดอำนาจทั้งหลาย อาจสรุปความหมายแคบๆ โดยเฉพาะเจาะจงสำหรับคำว่าปฏิวัติ และรัฐประหารในบรรยากาศการเมืองไทยเป็นดังนี้ คือ         
       "ปฏิวัติ" หมายถึง การยึดอำนาจโดยวิธีการที่ไม่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ ยกเลิกรัฐธรรมนูญที่ใช้อยู่ อาจมีหรือไม่มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และรัฐบาลใหม่ได้ทำการเปลี่ยนแปลงมูลฐานระบอบการปกครอง เช่นเปลี่ยนแปลง การปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นระบอบประชาธิปไตย หรือ คอมมิวนิสต์ ฯลฯ 
       "รัฐประหาร" หมายถึง การยึดอำนาจโดยวิธีการที่ไม่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ แต่ยังคงใช้รัฐธรรมนูญฉบับเก่าต่อไป หรือประกาศใช้รัฐธรรมฉบับใหม่ เพื่อให้มีการเลือกตั้งเกิดขึ้นในระยะเวลาไม่นานนัก
       ในประเทศไทยถือได้ว่ามีการปฏิวัติเกิดขึ้นครั้งแรกและครั้งเดียวคือ การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2547 โดยคณะราษฎร จากระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย และมีการกบฏเกิดขึ้น 12 ครั้ง และรัฐประหาร 9 ครั้ง ดังนี้         
กบฏ 12 ครั้ง
1.กบฏ ร.ศ.130                  
2.กบฏบวรเดช 11 ต.ค. 2476
3.กบฏนายสิบ 3 ส.ค.2478
4.กบฏพระยาทรงสุรเดช หรือกบฏ 18 ศพ 29 ม.ค.2482        
5.กบฏเสนาธิการ 1 ต.ค.2491         
6.กบฏแบ่งแยกดินแดน พ.ย. 2491         
7.กบฏวังหลวง 26 ก.พ.2492         
8.กบฏแมนฮัตตัน 29 มิ.ย. 2494        
9.กบฏสันติภาพ 8 พ.ย. 2497     
10.กบฏ 26 มี.ค. 2520         
11.กบฏยังเติร์ก 1-3 เม.ย. 2524         
12.กบฏทหารนอกราชการ 9 ก.ย. 2528         

รัฐประหาร 9 ครั้ง
1.พ.อ.พระยาพหลฯ ทำการรัฐประหาร 20 มิ.ย. 2476         
2.พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ และคณะนายทหารบก
   ทำการรัฐประหาร เมื่อ 8 พ.ย. 2490         
3.จอมพล ป. พิบูลสงคราม ทำการรัฐประหาร 29 พ.ย.2494         
4.จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทำการรัฐประหาร 16 ก.ย. 2500
5.จอมพลถนอม กิตติขจร ทำรัฐประหาร 20 ต.ค.2501         
6.จอมพลถนอม กิตติขจร ทำการรัฐประหาร 17 พ.ย. 2514        
7.พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ทำการรัฐประหาร 20 ตุลาคม 2520         
8.พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ ทำการรัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ 2534
9.คณะผู้บัญชาการเหล่าทัพ และ ผบ.ตร. นำโดยพลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน
   ทำการรัฐประหาร เมื่อ 19 ก.ย. 2549

ที่มา; http://www.thaigoodview.com/node/16621

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น