โปรแกรม Picasa

วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2554

เพลงรณรงค์การเลือกตั้ง1

เพลงรณรงค์การเลือกตั้ง2

การเลือกตั้งส.ส. 3 กรกฎาคม 2554

      การเลือกตั้งส.ส. 3 กรกฎาคม 2554
       การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2554 เป็นการเลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 กำหนดให้มีขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 9ตั้งแต่เวลา08.00-15.00น. ตามความในพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2554 ซึ่งให้ยุบสภาผู้แทนราษฎรเสียตั้งแต่วันที่ 10 พฤษภาคม 2554 โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พุทธศักราช 2554 กำหนดให้สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 500 คน โดยเป็นสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวน 375 คน และสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อจำนวน 125 คน  ส.ส. แบบแบ่งเขตในครั้งนี้มีรูปแบบการลงคะแนนเป็นแบบ "เขตเดียวเบอร์เดียว" หรือผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้ง สามารถเลือกผู้สมัครได้เพียงคนเดียว ขณะที่การเลือกตั้ง ส.ส. เมื่อปี พ.ศ. 2550 นั้นเป็นแบบ "เขตเดียวสามเบอร์" หรือผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้ง สามารถเลือกผู้สมัครได้จำนวน 1-3 คน ตามขนาดของการแบ่งเขตพื้นที่

       ปฏิทินเลือกตั้ง
วันที่ 19-23 พ.ค. 54 รับสมัครแบบบัญชีรายชื่อ
วันที่ 24-28 พ.ค. 54 รับสมัครแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง
วันที่ 12 มิ.ย. 54 วันสุดท้ายประกาศบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
วันที่ 2 มิ.ย. 54 วันสุดท้ายลงทะเบียนใช้สิทธินอกเขตจังหวัด
วันที่ 13-17 มิ.ย. 54 ลงทะเบียนใช้สิทธิล่วงหน้าในเขตเลือกตั้ง
วันที่ 17-26 มิ.ย. 54 ลงคะแนนนอกราชอาณาจักร
วันที่ 22 มิ.ย. 54 วันสุดท้ายเพิ่มชื่อ-ถอนชื่อ
วันที่ 26 มิ.ย. 54 วันลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขตจังหวัด และในเขตเลือกตั้ง
วันที่ 25 มิ.ย. 54 วันสุดท้ายแจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งก่อนวันเลือกตั้ง 7 วัน
วันที่ 10 ก.ค. 54 วันสุดท้ายแจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งหลังวันเลือกตั้ง 7 วัน
3 ก.ค. 54 วันเลือกตั้ง ส.ส.

       ขั้นตอนการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ส.ส.
1 ตรวจสอบรายชื่อและลำดับที่จากบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ประกาศไว้หน้าหน่วยเลือกตั้ง หรือ จากหนังสือแจ้งรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ส่งไปยังเจ้าบ้าน
2 ยื่นบัตรประชาชน และลงลายมือชื่อในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
3 ลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้วหัวแม่มือขวาบนต้นขั้วบัตรเลือกตั้งพร้อมรับบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ คือ บัตรเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขต และบัตรเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ
4 เข้าคูหาลงคะแนน ทำเครื่องหมายกากบาท (x) ลงในช่องทำเครื่องหมาย
- บัตรเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขต เลือกผู้สมัครได้เพียงคนเดียว
- บัตรเลือกตั้ง ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ เลือกพรรคการเมืองได้เพียง  พรรคเดียว
- หากไม่ต้องการเลือกใครหรือพรรคการเมืองใดให้ทำเครื่องหมายกากบาท (x) ในช่องไม่ประสงค์จะลงคะแนน
5 พับบัตรเลือกตั้งทั้ง 2 บัตรให้เรียบร้อยและใส่บัตรทีละบัตรลงใน   หีบบัตรเลือกตั้งแต่ละประเภทด้วยตนเอง
      ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
1 ผู้มีสัญชาติไทย (ถ้าแปลงสัญชาติต้องได้สัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อยกว่า         5 ปี
2 มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ในวันที่ 1 มกราคม ของปีที่มีการเลือกตั้ง 
3 มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วัน นับถึงวันเลือกตั้ง
4 ไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังนี้
* เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช
* อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
* ต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือโดยคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
* วิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ

       ก่อนตัดสินใจกากบาท x ลงคะแนน จะพิจารณาอย่างไร
       ส.ส.แบบแบ่งเขต   เลือกคนที่รัก คนเดียวในดวงใจ ควรมีลักษณะ เช่น
1  เป็นคนดี มีความสามารถ มีประวัติส่วนตัว และผลงานที่ผ่านมาดีเป็นที่ยอมรับ กล้าต่อสู้เพื่อความถูกต้องชอบธรรม                                                                                                                                          
2 มีคุณธรรม และความเสียสละไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนมากกว่าส่วนรวม    ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น
3 มีความรู้ความสามารถ คือรู้ปัญหา รู้หน้าที่ และมีแนวคิด หรือข้อเสนอในการแก้ปัญหาอย่างชัดเจน มีความเป็นไปได้
4 มีวิถีชีวิตแบบประชาธิปไตย คือ มีเหตุผล ไม่ถือความคิดของตนเป็นใหญ่ เคารพมติเสียงส่วนใหญ่ รับฟังความเห็นของเสียงส่วนน้อย
5 มีการหาเสียงหรือแนะนำตัวอย่างสร้างสรรค์โดยไม่ฝ่าฝืนหรือหลีกเลี่ยงกฎกติกาการเลือกตั้ง
        ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ   เลือกพรรคที่ชอบ พรรคเดียวที่เราวางใจพรรคการเมืองที่ดี ควรมีลักษณะ เช่น
1 มีนโยบายเพื่อประโยชน์ส่วนร่วมของประชาชน และมีแนวทางปฏิบัติให้เป็นจริงได้
2 ระบบบริหารของพรรคยึดหลักการประชาธิปไตย
3 มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน
4 ดำเนินกิจกรรมทางการเมืองอย่างโปร่งใสและตรวจสอบได้
5 เป็นพรรคที่รวมคนทุกกลุ่มในสังคมเป็นสมาชิกไม่ใช่ยึดติดเพียง กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
     
       การแจ้งเหตุที่ทำให้ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
1 มีกิจธุระจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องเดินทางไปพื้นที่ห่างไกล
2 เจ็บป่วย พิการ สูงอายุ ไม่สามารถไปใช้สิทธิได้
3 พิการ หรือสูงอายุและไม่สามารถเดินทางไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้
4 เดินทางออกนอกราชอาณาจักร
5 มีถิ่นที่อยู่ห่างไกลจากที่เลือกตั้งเกินกว่า 100 กม.
6 มีเหตุสุดวิสัยอื่นที่ กกต.กำหนด
       วิธีการแจ้งเหตุ ระหว่างก่อนวันเลือกตั้ง 7 วัน จนถึงหลังวันเลือกตั้ง 7 วัน
1 กรอกแบบฟอร์มหนังสือแจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ (ส.ส. 28) โดยระบุหมายเลขประจำตัวประชาชน และที่อยู่ตามหลักฐานทะเบียนบ้าน
2 แนบหลักฐานเหตุจำเป็นที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้
3 ยื่นต่อนายทะเบียนอำเภอและนายทะเบียนท้องถิ่นที่มีชื่ออยู่ใน   ทะเบียนบ้าน  ได้ 3 วิธีการ คือ
  (1) ยื่นด้วยตนเอง
  (2) มอบหมายบุคคลอื่นไปยื่นแทน
  (3) ส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน
       ไม่ไปเลือกตั้ง ไม่แจ้งเหตุ เสียสิทธิ 3 ประการ
1 เสียสิทธิการยื่นคำร้องคัดค้านการเลือกตั้ง ส.ส. และ ส.ว.
2 เสียสิทธิการสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส., ส.ว., สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น และสิทธิได้รับการเสนอชื่อเข้ารับการสรรหาเป็น ส.ว.
3 เสียสิทธิการสมัครรับเลือกเป็นกำนัน และผู้ใหญ่บ้าน
สิทธิทั้ง 3 ประการ จะได้กลับคืนมาเมื่อไปใช้สิทธิการเลือกตั้งอย่างใดอย่างหนึ่ง ในการเลือกตั้งครั้งต่อไป ไม่ว่าจะเป็นการเลือกตั้งระดับชาติหรือท้องถิ่น

       ใบเหลือง ใบแดง คืออะไร
เพื่อให้เข้าใจง่าย จึงขอเปรียบเทียบกับกีฬาฟุตบอล เมื่อกรรมการให้ “ใบเหลือง”นักฟุตบอล แปลว่านักฟุตบอลคนนั้นเล่นผิดกติกา แต่ยังไม่ถึงกับไล่ออกจากสนามยังให้เล่นต่อไปได้
ถ้าให้ “ใบแดง” แปลว่า นักฟุตบอลคนนั้นทำผิดกติกาอย่างร้ายแรง ต้องไล่ออกจากสนาม กฎหมายเลือกตั้งทุกประเภทก็กำหนดกติกาการเลือกตั้งไว้คล้ายๆ กับกติกากีฬาฟุตบอล ดังนี้
        การให้ใบเหลือง แก่ผู้สมัครรับเลือกตั้งคนใด หมายความว่า กกต.     เห็นว่ามีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่ามีการทุจริตการเลือกตั้งเกิดขึ้น เช่น การซื้อสิทธิ-    ขายเสียง การแจกเงิน สิ่งของ เป็นต้น โดยเป็นการทุจริตที่แม้จะไม่ปรากฏหลักฐานที่เชื่อได้ว่าผู้สมัครได้เป็นคนกระทำด้วยตนเองหรือเป็นผู้รู้เห็นการกระทำนั้น แต่ก็เป็นผู้ได้รับประโยชน์จากการเลือกตั้งที่ไม่สุจริตดังกล่าว กกต. จึงลงโทษด้วยการสั่งให้เลือกตั้งใหม่ โดยผู้สมัครที่ได้ใบเหลืองยังคงเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งต่อไปได้
        การให้ใบแดง แก่ผู้สมัครรับเลือกตั้ง หมายความว่า กกต. เห็นว่ามีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่ามีการทุจริตการเลือกตั้งเกิดขึ้นเช่นเดียวกับกรณีการให้ใบเหลือง            แต่ต่างกันตรงที่ว่าผู้สมัครเป็นผู้กระทำหรือมีส่วนรู้เห็นการทุจริตนั้น จึงมีผลต้องถูก    เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเป็นเวลา 1  ปี และหากผู้นั้นได้รับคะแนนเสียงอยู่ในเกณฑ์ที่       จะได้รับการเลือกตั้ง ก็จะต้องจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่แทน โดยผู้ถูกเพิกถอนสิทธินั้น      จะไม่มีสิทธิลงสมัคร ทั้งยังถูกดำเนินคดีอาญา และต้องชดใช้ค่าเสียหายในการเลือกตั้งใหม่ด้วย

       ข้อห้ามกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง
1 ห้ามซื้อเสียง หรือจัดเตรียมการซื้อเสียง
2 ห้ามรับเงินและประโยชน์อื่นใด เพื่อลงคะแนนเลือกตั้ง
3 ห้ามหาเสียงและห้ามขายหรือจัดเลี้ยงสุรา ตั้งแต่ 18.00 น. ของวันก่อนวันเลือกตั้งจนสิ้นสุดวันเลือกตั้ง
4 ห้ามนายจ้างขัดขวางการไปใช้สิทธิของลูกจ้าง
5 ห้ามขัดขวางหรือหน่วงเหนียวมิให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไป ณ ที่เลือกตั้ง
6 ห้ามจัดยานพาหนะ (ยกเว้นหน่วยงานรัฐ) ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไปเลือกตั้งโดยไม่ต้องเสียค่าโดยสาร
7 ห้ามฉีกบัตรเลือกตั้ง หรือทำให้บัตรเลือกตั้งชำรุดอย่างจงใจ
8 ห้ามถ่ายภาพบัตรเลือกตั้งที่ตนเองได้ลงคะแนนแล้วด้วยเครื่องมือหรืออุปกรณ์ใด
9 ห้ามเล่นการพนันขันต่อใดๆ เกี่ยวกับผลการเลือกตั้ง
10 ห้ามเผยแพร่หรือเผยแพร่ผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับผลการเลือกตั้ง(โพลล์) ในระหว่าง 7 วัน ก่อนวันเลือกตั้งจนถึงเวลาปิดการลงคะแนนเลือกตั้ง (เวลา 15.00 น.)

อ้างอิงแหล่งที่มา;http://guideubon.com/news/view.php?t=75&s_id=93&d_id=93

การเมืองภาคประชาชน

การเมืองภาคประชาชน


       ประชาชนคือองค์ประกอบหนึ่งของการเมือง มีความเกี่ยวข้องกับการเมืองในฐานะเจ้าของสิทธิ เมื่อมีการเลือกตั้งประชาชนมีหน้าที่ไปใช้สิทธิของตนเองโดยผ่านการลงคะแนนเพื่อเลือกตัวแทน(สส) ตัวแทนผู้ได้รับฉันทามติให้เป็นผู้ใช้สิทธิแทนประชาชนจะนำเอาสิทธิที่ได้รับมา ไปแสดงออกทางการเมืองนั่นก็คือการบริหารประเทศและปกป้องผลประโยชน์ชาติ
        การเมืองภาคประชาชนคือองค์ประกอบทางการเมือง(จะเรียกว่าองค์ประกอบใหม่ที่เกิดขึ้นก็ได้) ที่กำเนิดขึ้นควบคู่ไปกับการมอบสิทธิแก่ตัวแทน(สส) เพราะการเมืองระบบตัวแทนทำให้ประชาชนรู้สึกว่า ไม่อาจพึ่งพาการเมืองแบบนี้ได้มากนักความจริงการเมืองภาคประชาชนเกิดขึ้นมานานแล้ว เกิดมาพร้อมๆกับการเปลี่ยนแปลงการปกครองปี 2475 เลยที่เดียว แต่อาจมีภาพที่ไม่ชัดเจนและประชาชนยังไม่ตื่นตัวกันมากนัก ทั้งนี้เป็นเพราะยังเป็นช่วงเริ่มต้นการเปลี่ยนผ่านการเมืองการปกครอง ที่ชัดเจนพอที่จะหยิบยกมากล่าวถึงก็คือเหตุการณ์เดือนตุลาคม ปี16-19 ถัดมาก็เป็นพฤษภาทมิฬ ปี35 และล่าสุดก็คือปรากฏการณ์เหลือง-แดง
        การรวมตัวกันทางการเมืองของภาคประชาชน ถือเป็นการรวมตัวกันเพื่อตรวจสอบการนำสิทธิของประชาชนไปใช้ว่า เป็นไปโดยถือประโยชน์ชาติตามที่ได้ให้พันธสัญญาต่อประชาชนหรือไม่ การรวมตัวกันทางการเมืองของภาคประชาชน ไม่ว่ากลุ่มใดก็ตาม ล้วนก่อรูปก่อร่างขึ้นโดยมีเงื่อนไขทั้งสิ้น หาได้เกิดขึ้นมาลอยๆแล้วเลือนหายไปดั่งสายลมไม่ หากแต่ทุกกลุ่มพลังการเมืองภาคประชาชนล้วนมีปัจจัยในเรื่องผลประโยชน์มาเกี่ยวข้องทั้งสิ้น ปัจจัยที่ว่านี้มีทั้งปัจจัยภายนอกและภายในประเทศ ปัจจัยภายในก็ได้แก่ ชั้นสูงหรือชนชั้นนำ ชนชั้นกลาง นักธุรกิจ นักวิชาการ ทหาร ตำรวจ และอื่นๆ ส่วนปัจจัยภายนอกก็ได้แก่ กลุ่มทุนข้ามชาติ ซึ่งมีอิทธิพลต่อการเมืองไทยพอสมควร นอกจากนั้นยังเป็นกลุ่มองค์กรเอกชนบางแห่งที่ได้รับทุนจากต่างประเทศ ปัจจัยเหล่านี้ล้วนเป็นตัวแปรต่อการเมืองไทย และการเมืองภาคประชาชนทั้งสิ้น
       ช่วงเหตุการณ์วุ่นวายทางการเมืองในระยะ3-4 ปีที่ผ่านมา ถือเป็นยุคการเมืองภาคประชาชนเบ่งบานที่สุด ดังนั้นจึงมีคำถามมากมายพุ่งเป้าไปที่การเคลื่อนไหวทางการเมืองของภาคประชาชนว่า ความเหมาะสม ความชอบธรรม ของการเมืองภาคประชาชนที่เป็นที่ยอมรับในฐานะเป็นศูนย์กลางของความจริง เกิดขึ้นแล้วหรือยังถ้าคิดว่าเกิดขึ้นแล้ว..อะไรคือหลักฐานเชิงประจักษ์แล้วถ้ายังไม่เกิด..การเมืองภาคประชาชนจะเดินไปในทิศทางไหน วางตนอยู่ตรงจุดใด จึงจะเป็นที่ยอมรับในฐานะที่เป็นศูนย์กลางการเคลื่อนไหวของข้อเท็จจริง และเป็นไปเพื่อปกป้องผลประโยชน์ชาติ
       อย่างไรก็ดี การเมืองไทยที่อยู่ในสภาพบิดเบี้ยวอย่างในปัจจุบัน การเมืองภาคประชาชนแม้จะยังไม่แจ่มชัดนักในเรื่องของการปกป้องผลประโยชน์ชาติ แต่การเมืองภาคประชาชนก็ยังเป็นสิ่งจำเป็น เราไม่อาจปล่อยให้นิยามคำว่าผลประโยชน์ชาติเลื่อนลอยอยู่ในมือนักการเมืองเพียงลำพังได้อีกแล้ว
การดำรงอยู่และดำเนินไปของการเมืองภาคประชาชน น่าจะยังเป็นประโยชน์ในแง่ของการเป็นเครื่องมือตรวจสอบ ถ่วงดุล กับนักการเมืองในระบบตัวแทนอย่างในปัจจุบัน ซึ่งมีต้นทุนทางจริยธรรมไม่มากนัก ขณะเดียวกันการเมืองภาคประชาชนยังสามารถถ่วงดุลกับกลไกตลาดเสรีในระบบทุนนิยมสามานย์อย่างในปัจจุบัน

อ้างอิงแหล่งที่มา;http://www.oknation.net/blog/plardeakdee/2010/11/09/entry-1

การประท้วงการรับน้องมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

การประท้วงรับน้องมมส


       ปัญญาชนกว่า 200 คน ส่งจม.เปิดผนึกเรียกร้องปฏิรูประบบรับน้อง

        สืบเนื่องจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างกิจกรรม "รับน้อง" ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ซึ่งถูกเผยแพร่ทางยูทูบตั้งแต่วันที่ 6 มิถุนายน 2554 ระบุว่าเป็นภาพเหตุการณ์ในคืนวันที่ 5 มิถุนายน 2554 นั้น พวกเรา กลุ่มอาจารย์มหาวิทยาลัย นักกิจกรรมเพื่อสังคมและบุคคลทั่วไปที่มีความสนใจในประเด็นนี้ ต้องการแสดงความวิตกกังวลกับสิ่งที่เกิดขึ้นในกิจกรรม "รับน้อง" ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม รวมถึงในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาทั่วประเทศ และต้องการให้กำลังใจกับกลุ่มนักศึกษาเสียงข้างน้อยกลุ่มหนึ่งที่ลุกขึ้นแสดงจุดยืนเพื่อปกป้องสิทธิและเสรีภาพของทุกคนในการแสดงความเห็นตามวิถีทางที่เป็นประชาธิปไตยและสันติวิธี
       พวกเราทุกคนตามรายชื่อท้ายจดหมายเปิดผนึกฉบับนี้รู้สึกหดหู่และสะท้อนใจกับสิ่งที่นักศึกษาส่วนใหญ่กระทำกับนักศึกษาผู้ประท้วงกลุ่มนี้ โดยเฉพาะกับทัศนคติและท่าทีของผู้จัดกิจกรรมที่ปิดกั้นการแสดงความคิดเห็นที่แตกต่าง และไม่เปิดโอกาสให้นักศึกษาผู้ประท้วงได้ทำการชี้แจงและ/หรือเปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในวงกว้างกับนักศึกษาผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด
      พวกเราทุกคนมีความเชื่ออย่างมั่นคงและจริงใจว่ามหาวิทยาลัยซึ่งเป็นสถานศึกษาขั้นสูงต้องเป็นพื้นที่ที่สมาชิกทุกคนได้รับการประกันสิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นขั้นพื้นฐานและควรเป็นสถานที่บ่มเพาะและขัดเกลาให้เชื่อมั่นและยึดถือในคุณค่าประชาธิปไตยและคุณค่าความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมของทุกคนไม่ใช่สถานที่บ่มเพาะและปลูกฝังให้ยอมจำนนต่อการใช้อำนาจที่ไร้ความชอบธรรมหรือการบังคับกล่อมเกลาให้ฝักใฝ่ในระบบเผด็จการอำนาจนิยมรวมทั้งระบบอุปถัมภ์แบบจารีต ซึ่งสวนทางกับอุดมการณ์ประชาธิปไตยอย่างสิ้นเชิง
       อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์นี้เป็นเพียงกรณีตัวอย่าง หรือหนึ่งในกิจกรรมที่เกิดขึ้นทั่วไปในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาจนอาจเรียกได้ว่าเป็นธรรมเนียมปฏิบัติอัน "ศักดิ์สิทธิ์" ที่ไม่อาจถูกตั้งคำถามหรือ "ลบหลู่" ในมหาวิทยาลัยหลายแห่งก็ว่าได้ ดังจะเห็นได้จากข้อโต้แย้งหรือคำอธิบายของผู้จัดกิจกรรมตามที่ได้ประจักษ์จากวิดีโอนี้ พวกเราจึงเชื่อมั่นว่าวัฒนธรรมการรับน้องแบบนี้จะยังเกิดขึ้นต่อไปในสถานศึกษาทุกแห่งตามที่เคยได้ปฏิบัติกันมาหากไม่มีการเปลี่ยนแปลงวิธีคิดและค่านิยมของผู้ที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะตัวนิสิตนักศึกษาเองถึงแม้พวกเราจะเชื่อว่ากิจกรรม"รับน้อง" ที่ถูกออกแบบจากวิธีคิดดังกล่าว ในนามของระบบ "โซตัส" จะเป็นกิจกรรมที่ ไม่สร้างสรรค์ เปิดโอกาสให้เกิดการใช้ความรุนแรงอย่างเสรี ปลอดจากความรับผิดชอบและไม่ควรจะได้รับอนุญาตให้เกิดขึ้นต่อไปอีกนั้น แต่พวกเราก็ไม่เชื่อมั่นเช่นกันว่าการบังคับออกคำสั่งจากผู้บริหารสถานศึกษาหรือการกำหนดบทลงโทษกับนักศึกษาผู้จัดกิจกรรมจะเป็นวิถีทางที่ถูกต้องและเหมาะสมที่จะทำให้ระบบการศึกษาไทยหลุดพ้นจากวัฒนธรรมเผด็จการอำนาจนิยมไปได้
       พวกเรากลับเชื่อมั่นว่าการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริงจะต้องเกิดจากความต้องการที่จะปรับเปลี่ยนทัศนคติค่านิยม ความเชื่อของนักศึกษาและผู้ที่เกี่ยวข้องกับกิจการนักศึกษาทั้งระบบ รวมถึงการตระหนักรู้ต่อความอันตรายและผลกระทบเชิงอุดมการณ์ของระบบ "โซตัส" นี้จากสังคมไทยเองด้วย สุดท้าย พวกเราขอให้กำลังใจกับนักศึกษาผู้ประท้วงในเหตุการณ์ดังกล่าว รวมทั้งนิสิตนักศึกษาและ/หรือผู้ใดก็ตามที่เชื่อมั่นในแนวทางเดียวกันและกำลังสร้างสรรค์กิจกรรมรูปแบบใหม่เพื่อช่วยให้ระบบการศึกษาของไทยหลุดพ้นจากค่านิยมและทัศนคติที่เป็นปฏิปักษ์ต่อประชาธิปไตยเช่นนี้ขณะเดียวกัน เว็บไซต์ประชาไทได้สัมภาษณ์ นายยุทธนา ลุนสำโรง นิสิตชั้นปีที่ 4 เอกการเมืองการปกครอง วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มนิสิตที่ร่วมตัวกันทำกิจกรรม โดยนายยุทธนาเปิดเผยว่า ภาพที่ถูกเผยแพร่ออกไปนั้น เป็นเหตุการณ์ช่วงค่ำของวันที่ 5 มิ.ย.ที่ผ่านมา ที่บริเวณสนามกีฬามหาวิทยาลัยมหาสารคาม ซึ่งเรียกว่าเป็นวันพิสูจน์รุ่น (ยอมรับเป็นรุ่นน้อง) มมส. หลังจากจากมีการรับน้องทั้งมหาวิทยาลัยมาตั้งแต่วันที่ 31 พ.ค.54 โดยน้องปีหนึ่งทุกคณะจะต้องมาร่วมกิจกรรมเชียร์ ด้วยการขู่ว่าไม่มาจะไม่ได้รุ่น
       นายยุทธนา ย้ำว่า สิ่งที่เกิดขึ้นในวันนั้นไม่ใช่การสร้างสถานการณ์ มีน้องนักศึกษาเป็นลมจริง ในการรับน้อง และก็มีการพูดว่า การที่มีคนเป็นลมเป็นปกติอย่างนี้ทุกปี ซึ่งส่วนตัวรู้สึกไม่เห็นด้วย ทั้งนี้ ทุกๆ ปีที่ผ่านมาเขาและเพื่อนๆ ได้ทำกิจกรรมชูป้ายต่อต้านการใช้ความรุนแรงในการรับน้องมาโดยตลอด เพราะเขาและเพื่อนๆ ซึ่งผ่านกระบวนการรับน้องมาแล้ว อีกทั้งส่วนตัวยังเคยเข้าร่วมจัดกิจกรรมเชียร์ในฐานะกรรมการสโมสรนิสิต ได้เห็นถึงความเป็นเผด็จการ จากการกระทำของรุ่นพี่ ทั้งยูนิฟอร์มสีเขียว การให้จัดแถวเหมือนทหาร การก่นด่า ไซโค กดดัน ซึ่งเท่ากับเป็นการส่งเสริมอำนาจนิยม ขณะที่รุ่นน้องที่เข้ามาใหม่ ยังไม่รู้จักใคร ถ้าปรับตัวไม่ได้ก็อาจมีผลกระทบกับทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต
นายยุทธนา กล่าวด้วยว่า จุดหมายของกิจกรรมของเขาคือการขึ้นอ่านแถลงการณ์คัดค้านการรับน้องบนเวที เพราะอยากสื่อสารจุดยืนของพวกเขาออกไปในวงกว้าง โดยเชื่อว่าไม่ได้มีเฉพาะกลุ่มของพวกเขาที่คิดแบบนี้ หากแต่คนอื่นๆ อาจยังไม่กล้าออกมา และประเมินว่ากิจกรรมที่ผ่านมายังไม่สามารถก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงได้ จึงคิดกิจกรรมนี้ขึ้น แต่เมื่อขึ้นไปบนเวทีได้กลับไม่สามารถเจราจาเพื่ออ่านแถลงการณ์ผ่านเครื่องขยายเสียงบนเวทีได้ และถูกกันออกไป อีกทั้งยังถูกประกาศไล่ให้ออกจากบริเวณดังกล่าว จึงต้องลงมาเจรจาข้างล่างแต่ก็ไม่เป็นผล
       นิสิตเอกการเมืองการปกครอง กล่าวต่อมาว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่งชี้ถึงการใช้อำนาจเผด็จการที่รุ่นพี่พยายามแสดงออกกับรุ่นน้อง ไม่ว่าจะเป็นการใช้คำพูดที่ว่า "คุณท้าทายอำนาจประธานเชียร์อย่างผม" การขู่ว่าจะเอาชื่ออกจากระบบการเป็นนักศึกษา รวมทั้งการออกคำสั่งว่าให้จดชื่อและบันทึกภาพใบหน้าของเขาและเพื่อนเอาไว้ให้หมดในสถานการณ์วุ่นวาย ยุทธนาเล่าว่า เขาและเพื่อนๆ อีกราว 30 คนที่ทำกิจกรรมร่วมกันได้เตรียมตัวรับไว้แล้วกับความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นได้ เนื่องจากทราบว่าสต๊าฟเชียร์มีจำนวนมากกว่าในหลักร้อย แต่การทำกิจกรรมครั้งนี้ยึดตามแนวทางสันติวิธีเพราะพวกเขาเชื่อว่าได้ทำสิ่งที่ถูกต้อง และหากเกิดการใช้ความรุนแรง กลุ่มสต๊าฟเองจะเป็นคนถูกตั้งคำถามถึงการใช้อำนาจป่าเถื่อน อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์คลี่คลายลงได้เนื่องจากมีรุ่นพี่คนหนึ่งมาเป็นตัวกลางไกล่เกลี่ย และสุดท้ายรองอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิต ได้ลงมารับหนังสือที่ลงท้ายชื่อกลุ่มประชาคมเสรี ม.มหาสารคาม ชมรมคนสร้างฝัน ชมรมรัฐศาสตร์สัมพันธ์ กลุ่มเถียงนาประชาคม โดยการรวมตัวของนิสิตจากหลายคณะ ซึ่งเขาคิดว่าอย่างน้อยก็เป็นการสื่อสารไปยังระดับของผู้บริหารมหาวิทยาลัย
       เมื่อถามว่าก่อนหน้านี้เคยมีความพยายามคัดค้านการใช้ความรุนแรงในการรับน้องหรือไม่ นายยุทธนาตอบว่า จากที่เคยมีโอกาสเป็นกรรมการสโมสรนิสิต เขาได้พยายามเสนอประเด็นนี้ แต่ก็ไม่ได้รับการตอบรับในที่ประชุม โดยได้คำตอบว่าเป็น "ประเพณี" แต่เขามองว่า คำตอบนี้ไม่มีการตั้งคำถามว่า ประเพณีนี้เป็นสิ่งที่ดีหรือไม่ดี ส่วนการยื่นหนังสือเพื่อคัดค้านที่ผ่านมามีการทำผ่านคณบดี และกองกิจการนักศึกษา
       "ผมไม่ล้มเชียร์ แต่ผมอยากปฏิรูป เปลี่ยนวิธีการใหม่" เขากล่าวและว่า จุดยืนของเขาและเพื่อนๆ คือการยกเลิกกระบวนการว้าก ส่วนการสอนร้องเพลงก็ควรพูดคุยกันดีๆ ให้มีการใช้วิธีการรับน้องแบบใหม่ๆ เช่น กระบวนการค่ายที่ปลุกจิตสำนึกของนิสิต นักศึกษา เพื่อร่วมแก้ปัญหาต่างๆ ในชุมชน ซึ่งปัญหาของชาวบ้านหรือชุมชนโดยรอบมหาลัยเองก็มีอยู่มากมาย ที่ผ่านมาเขาถูกกล่าวหาว่าเป็นพวกล้มเชียร์ แต่สิ่งที่เขาต้องการเปลี่ยนแปลงวิธีการมากกว่าเมื่อถามถึงผลที่เกิดขึ้นจากการทำกิจกรรมดังกล่าว นายยุทธนา เล่าว่า ในวันรุ่งขึ้น คณบดีได้เรียกเขาเข้าพบโดยการรายงานของกองกิจการนักศึกษา ซึ่งคณบดีแสดงความกังวลว่าการทำกิจกรรมในครั้งนี้ของเขาอาจกระทบต่อการเรียน เนื่องจากขณะนี้เขาอยู่ในช่วงภาคเรียนสุดท้ายแล้ว แต่เขาเชื่อว่าผลกระทบเช่นนั้นจะไม่เกิดขึ้น ส่วนนิสิตด้วยกัน บางกลุ่มที่เชื่อในระบบเดิมจะถูกตั้งคำถามว่า "ทำไปทำไม" หรือบอกว่าเขาเป็นพวก "มือไม่พายเอาเท้าราน้ำ" "เป็นพวกกลุ่มก่อกวน" และมีการข่มขู่ในเฟซบุ๊กส่วนตัวด้วย ขณะที่บางกลุ่ม เช่น เพื่อน หรือรุ่นพี่ที่รู้จักซึ่งจบไปแล้วก็จะเข้ามาแสดงความชื่นชม
       ส่วนกรณีที่มีการตั้งคำถามว่ากิจกรรมที่เขาและเพื่อนทำเป็นการข้ามขั้นตอนจากระบบที่มีอยู่แล้วแต่เขามีความคิดว่าแม้จะยื่นเรื่องขอขึ้นพูดบนเวทีแต่ก็เป็นเรื่องยากที่จะได้รับอนุญาตนายยุทธนา กล่าวต่อมาถึงกิจกรรมภายหลังจากนี้ว่า จะมีการรณรงค์ต่อเนื่องในเรื่องกิจกรรมรับน้องของคณะต่างๆ ซึ่งจะมีขึ้นต่อจากนี้ โดยผ่านการให้ข้อมูลแจกใบปลิว ป้ายผ้า ในตลาดนัดของมหาวิทยาลัย และใช้รถเครื่องเสียงตระเวนไปตามคณะต่างๆ เพื่อให้ข้อมูล โดยตั้งคำถามกับการรับน้อง และผลกระทบที่เกิดขึ้น ซึ่งจะมีการโยงไปถึงแนวคิดเรื่องสิทธิมนุษยชนด้วย
       "เชื่อว่ากิจกรรมที่ทำไปจะทำให้ทุกคนตื่นตัว อย่างน้อยก็ตั้งคำถาม ว่าทำไมมีคนไม่เห็นด้วย และคนที่คิดเหมือนกันไม่ใช่แค่นี้ อยากบอกว่าคุณเลิกกลัวได้แล้ว เวลาของความกลัวหมดลงแล้ว" นายยุทธนา กล่าวพร้อมย้ำความเชื่อที่ว่าพลังของคนตัวเล็กตัวน้อยสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ โดยแค่เพียงการให้กำลังใจให้กับคนที่ลุกขึ้นมาทำกิจกรรม หรือร่วมกันเผยแพร่ข่าวสารข้อมูลต่อๆ กันไป เท่านี้ก็ถือว่าเป็นเพื่อนกันแล้ว
       นายยุทธนา ฝากถึงนิสิต นักศึกษาในสถาบันอื่นๆ ว่า มีสถานศึกษาอีกหลายแห่งที่ยังเป็นแบบนี้ และดุเดือดไม่แพ้กัน เสนอว่า ถ้ามีคนคิดแบบว่าสิ่งที่เกิดขึ้นไม่เป็นธรรม โดนกดขี่ ก็ลุกขึ้นมาสู้ร่วมกัน และมันอาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในวงกว้าได้ ไม่ใช่เพียงแค่ที่มหาสารคาม เรื่องแบบนี้น่าจะถกเถียงได้เยอะ เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับชีวิตของพวกเขาโดยตรง


อ้างอิงแหล่งที่มา;http://www.matichon.co.th/mtc-flv-window.php?newsid=1307627292

วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554

รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549


รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549
          รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน ออกแถลงการณ์ทางโทรทัศน์ทหารบก มีส่วนสำคัญในการก่อรัฐประหารครั้งนี้ มีริบบิ้นสีเหลืองผูกกระบอกปืน และมีผ้าพันคอสีเหลือง
รถถังจอดอยู่ที่กระทรวงกลาโหมในวันที่ 24 ก.ย. 2549
          รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 เป็นรัฐประหารครั้งที่ 10 ในประเทศไทย เกิดขึ้นในคืนวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 โดย คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ซึ่งมี พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน เป็นหัวหน้าคณะ โดยได้มีการยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรี แล้วประกาศกฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร
          รัฐประหารครั้งนี้ เกิดขึ้นก่อนการเลือกตั้งทั่วไปซึ่งมีกำหนดจัดขึ้นในเดือนตุลาคม หลังจากที่การเลือกตั้งเดือนเมษายนถูกตัดสินให้เป็นโมฆะ และนับเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในวิกฤตการณ์ทางการเมืองที่ดำเนินมายาวนานนับตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2548
รัฐประหารดังกล่าวไม่มีการเสียเลือดเนื้อ และไม่มีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บ ปฏิกิริยาจากนานาชาตินั้นมีตั้งแต่การวิพากษ์วิจารณ์โดยต่างประเทศเช่นออสเตรเลีย การแสดงออกถึงความเป็นกลาง เช่น สาธารณรัฐประชาชนจีน ไปจนถึงการแสดงความผิดหวังอย่างสหรัฐอเมริกาซึ่งถือว่าประเทศไทยเป็นพันธมิตรนอกนาโต และกล่าวว่าการก่อรัฐประหารนั้น "ไม่มีเหตุผลที่ยอมรับได้"
ภายหลังรัฐประหาร คปค. ได้จัดตั้งรัฐบาลชั่วคราว โดยมี พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ต่อมาวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2550 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศเลิกใช้กฎอัยการศึกใน 41 จังหวัด รวมกรุงเทพฯ และปริมณฑล แต่ยังคงไว้ 35 จังหวัด และได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ปี 2549 ซึ่งนับเป็นฉบับที่ 17
          ชนวนที่นำมาสู่รัฐประหาร (คืนวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549)รัฐประหารครั้งนี้เกิดขึ้นในช่วงวิกฤตการณ์ทางการเมือง โดยมีสถานการณ์รอบด้านหลายประการรุมเร้า พลเอก สนธิ บุญรัตกลิน เปิดเผยว่าได้ใช้เวลาประมาณ 7 เดือนในการเตรียมการก่อรัฐประหาร ซึ่งหมายความว่าเริ่มวางแผนในราวเดือนกุมภาพันธ์ 2549 ซึ่งเป็นห้วงเวลาเดียวกับที่มีการเปิดตัวพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย อมธ.เปิดล่ารายชื่อ 50,000 ชื่อเพื่อถอดถอนนายกรัฐมนตรี การเข้าพบ พล.อ.สนธิ ของนายสนธิ ลิ้มทองกุล เพื่อเรียกร้องให้ทหารออกมายืนข้างประชาชน การเสนอให้ใช้มาตรา 7 นายกฯ พระราชทาน และการประกาศยุบสภาของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
          พฤศจิกายน 2549 สองเดือนหลังจากรัฐประหาร คมช. ได้ออก "สมุดปกขาว" ชี้แจงสาเหตุของการก่อรัฐประหารยึดอำนาจโดยมีสาระสำคัญ ได้แก่ การทุจริตผลประโยชน์ทับซ้อน การใช้อำนาจในทางมิชอบ การละเมิดจริยธรรมคุณธรรมของผู้นำประเทศ การแทรกแซงระบบการตรวจสอบทางการเมืองตามรัฐธรรมนูญ ข้อผิดพลาดเชิงนโยบายที่นำไปสู่การละเมิดสิทธิเสรีภาพ และการบ่อนทำลายความสามัคคีของคนในชาติ
          อย่างไรก็ตาม บทวิเคราะห์จากหลายฝ่ายชี้ให้เห็นว่ายังมีสาเหตุอีกบางประการนอกเหนือจากเหตุผลของ คมช. ที่นำมาสู่รัฐประหาร เช่น ความขัดแย้งทางอำนาจที่เห็นได้จากการโยกย้ายนายทหารประจำปี รวมไปถึงความขัดแย้งระหว่าง พ.ต.ท.ทักษิณ กับสถาบันกษัตริย์
          ต่อมาได้มีการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2550 โดยคณะกรรมมาธิการยกร่างและสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ เมื่อจัดทำเสร็จได้ทำการพิมพ์เผยแพร่แจกให้กับประชาชนเพื่อประกอบการลงประชามติในวันที่ 19 สิงหาคม 2550 ผลจากการลงประชามติปรากฏว่ามีผู้รับร่างรัฐธรรมนูญ 14,294,520 ล้านเสียง ไม่รับร่าง 10,419,912 ล้านเสียง นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้ลงนามสนองพระบรมราชโองการและโปรดเกล้าให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธย ประกาศใช้เมื่อ 24 สิงหาคม 2550 นับเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 18 ของไทย หลังจากนั้นรัฐบาลได้ร่วมหารือกับคณะกรรมการการเลือกตั้งเห็นควรให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 23 ธันวาคม 2550
          เพื่อให้บ้านเมืองเกิดความเรียบร้อยให้เร็วที่สุด บรรดาพรรคการเมืองต่าง ๆ เริ่มมีการเคลื่อนไหวเพื่อเตรียมไปสู่การเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย มีการรวมพรรค มีการเฟ้นหาหัวหน้าพรรค มีการคัดหาผู้สมัคร ซึ่งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในครั้งนี้กำหนดให้มี สส จำนวน 480 คน แยกเป็น 400 คนมาจากการเลือกตั้ง  โดยใช้จังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง แบ่งเป็น 157 เขต มี สส 400 คน อีก 80 คน มาจากระบบสัดส่วน คือการแบ่งประเทศไทยออกเป็น 8 กลุ่ม แต่ละกลุ่มจะมี สส ได้ 10 คน การได้มาของสมาชิกวุฒิสภา สมาชิกวุฒิสภาจะมี 150 คน ได้มา 2 ทาง คือ ได้มาจากการเลือกของประชาชน 76 คน (จังหวัดละ 1 คน) และได้มาจากการสรรหาอีก 74 คน

อ้างอิงแหล่งที่มา;http://nucha.chs.ac.th/1.4.htm