โปรแกรม Picasa

วันอังคารที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ

        นับแต่ปีพุทธศักราช  ๒๔๗๕ ประเทศไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง  จากระบอบสมบูรณายาสิทธิราชย์ มาเป็น ระบอบประชาธิปไตย  มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ  ซึ่งนับแต่ห้วงเวลาดังกล่าว จวบจนกระทั่งปัจจุบันประเทศไทยได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญมาแล้ว ถึง ๑๖ ฉบับ  โดยฉบับล่าสุดประกาศใช้เมื่อวันที่  ๑๑ ตุลาคม  ๒๕๔๐
       ในอดีตที่ผ่านมา  นับแต่ที่ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๗) ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรก เป็นต้นมาประเทศไทยเกิดการเปลี่ยนแปลงมากมายหลายด้าน  ส่วนรัฐธรรมนูญก็ได้มีวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาวะบ้านเมือง มาจนสามารถที่จะยึดถือได้ว่าเป็นรัฐธรรมนูญของประชาชนอย่างแท้จริง  เช่น  รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน
        อย่างไรก็แล้วแต่  ประเทศไทยมีปัญหาที่หมักหมมสะสมมานาน และยังไม่สามารถขจัดให้หมดสิ้นไปอย่างเด็ดขาดได้  คือ ปัญหาการใช้อำนาจรัฐของเจ้าหน้าที่รัฐโดยมิชอบ เพื่อผลประโยชน์ของตนและพวกพ้อง  นำไปสู่การทุจริตในที่สุด  ก่อให้เกิดผลเสียอย่างมากมายต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศโดยรวม   รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๔๐  จึงได้พยายามแก้ปัญหาและอุดช่องว่างของกฎหมายเพื่อป้องกันการทุจริตคอรัปชั่นให้ลดน้อยลง โดยได้มีบัญญัติไว้ใน  หมวด ๑๐ การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ  มาตรา  ๒๙๑–๓๑๑  เป็นผลให้มาตราการเดิมที่ใช้ในการควบคุมตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐซึ่งไม่มีประสิทธิภาพต้องเปลี่ยนแปลงปรับปรุงใหม่ และเกิดมาตราการใหม่ๆ ขึ้นมาแก้ไขปัญหา อีกทั้งเป็นผลให้องค์กรที่ใช้ในการควบคุมตรวจสอบมีประสิทธิภาพมากขึ้น  โดยมีรูปแบบการตรวจสอบดังนี้ คือ  การแสดงบัญชีรายการทรัพย์สินและหนี้สิน  จัดตั้งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)เพื่อเป็นองค์กรตรวจสอบ  การลงคะแนนเสียงของ ส.ส. และ ส.ว. การเข้าชื่อถอดถอนออกจากตำแหน่งของประชาชน  การดำเนินคดีอาญากับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองก่อให้เกิดศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองขึ้น 


ที่มา; e-learning.mfu.ac.th/mflu/1604101/chapter2/group5.doc

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น