โปรแกรม Picasa

วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554

รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549


รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549
          รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน ออกแถลงการณ์ทางโทรทัศน์ทหารบก มีส่วนสำคัญในการก่อรัฐประหารครั้งนี้ มีริบบิ้นสีเหลืองผูกกระบอกปืน และมีผ้าพันคอสีเหลือง
รถถังจอดอยู่ที่กระทรวงกลาโหมในวันที่ 24 ก.ย. 2549
          รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 เป็นรัฐประหารครั้งที่ 10 ในประเทศไทย เกิดขึ้นในคืนวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 โดย คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ซึ่งมี พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน เป็นหัวหน้าคณะ โดยได้มีการยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรี แล้วประกาศกฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร
          รัฐประหารครั้งนี้ เกิดขึ้นก่อนการเลือกตั้งทั่วไปซึ่งมีกำหนดจัดขึ้นในเดือนตุลาคม หลังจากที่การเลือกตั้งเดือนเมษายนถูกตัดสินให้เป็นโมฆะ และนับเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในวิกฤตการณ์ทางการเมืองที่ดำเนินมายาวนานนับตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2548
รัฐประหารดังกล่าวไม่มีการเสียเลือดเนื้อ และไม่มีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บ ปฏิกิริยาจากนานาชาตินั้นมีตั้งแต่การวิพากษ์วิจารณ์โดยต่างประเทศเช่นออสเตรเลีย การแสดงออกถึงความเป็นกลาง เช่น สาธารณรัฐประชาชนจีน ไปจนถึงการแสดงความผิดหวังอย่างสหรัฐอเมริกาซึ่งถือว่าประเทศไทยเป็นพันธมิตรนอกนาโต และกล่าวว่าการก่อรัฐประหารนั้น "ไม่มีเหตุผลที่ยอมรับได้"
ภายหลังรัฐประหาร คปค. ได้จัดตั้งรัฐบาลชั่วคราว โดยมี พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ต่อมาวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2550 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศเลิกใช้กฎอัยการศึกใน 41 จังหวัด รวมกรุงเทพฯ และปริมณฑล แต่ยังคงไว้ 35 จังหวัด และได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ปี 2549 ซึ่งนับเป็นฉบับที่ 17
          ชนวนที่นำมาสู่รัฐประหาร (คืนวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549)รัฐประหารครั้งนี้เกิดขึ้นในช่วงวิกฤตการณ์ทางการเมือง โดยมีสถานการณ์รอบด้านหลายประการรุมเร้า พลเอก สนธิ บุญรัตกลิน เปิดเผยว่าได้ใช้เวลาประมาณ 7 เดือนในการเตรียมการก่อรัฐประหาร ซึ่งหมายความว่าเริ่มวางแผนในราวเดือนกุมภาพันธ์ 2549 ซึ่งเป็นห้วงเวลาเดียวกับที่มีการเปิดตัวพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย อมธ.เปิดล่ารายชื่อ 50,000 ชื่อเพื่อถอดถอนนายกรัฐมนตรี การเข้าพบ พล.อ.สนธิ ของนายสนธิ ลิ้มทองกุล เพื่อเรียกร้องให้ทหารออกมายืนข้างประชาชน การเสนอให้ใช้มาตรา 7 นายกฯ พระราชทาน และการประกาศยุบสภาของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
          พฤศจิกายน 2549 สองเดือนหลังจากรัฐประหาร คมช. ได้ออก "สมุดปกขาว" ชี้แจงสาเหตุของการก่อรัฐประหารยึดอำนาจโดยมีสาระสำคัญ ได้แก่ การทุจริตผลประโยชน์ทับซ้อน การใช้อำนาจในทางมิชอบ การละเมิดจริยธรรมคุณธรรมของผู้นำประเทศ การแทรกแซงระบบการตรวจสอบทางการเมืองตามรัฐธรรมนูญ ข้อผิดพลาดเชิงนโยบายที่นำไปสู่การละเมิดสิทธิเสรีภาพ และการบ่อนทำลายความสามัคคีของคนในชาติ
          อย่างไรก็ตาม บทวิเคราะห์จากหลายฝ่ายชี้ให้เห็นว่ายังมีสาเหตุอีกบางประการนอกเหนือจากเหตุผลของ คมช. ที่นำมาสู่รัฐประหาร เช่น ความขัดแย้งทางอำนาจที่เห็นได้จากการโยกย้ายนายทหารประจำปี รวมไปถึงความขัดแย้งระหว่าง พ.ต.ท.ทักษิณ กับสถาบันกษัตริย์
          ต่อมาได้มีการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2550 โดยคณะกรรมมาธิการยกร่างและสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ เมื่อจัดทำเสร็จได้ทำการพิมพ์เผยแพร่แจกให้กับประชาชนเพื่อประกอบการลงประชามติในวันที่ 19 สิงหาคม 2550 ผลจากการลงประชามติปรากฏว่ามีผู้รับร่างรัฐธรรมนูญ 14,294,520 ล้านเสียง ไม่รับร่าง 10,419,912 ล้านเสียง นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้ลงนามสนองพระบรมราชโองการและโปรดเกล้าให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธย ประกาศใช้เมื่อ 24 สิงหาคม 2550 นับเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 18 ของไทย หลังจากนั้นรัฐบาลได้ร่วมหารือกับคณะกรรมการการเลือกตั้งเห็นควรให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 23 ธันวาคม 2550
          เพื่อให้บ้านเมืองเกิดความเรียบร้อยให้เร็วที่สุด บรรดาพรรคการเมืองต่าง ๆ เริ่มมีการเคลื่อนไหวเพื่อเตรียมไปสู่การเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย มีการรวมพรรค มีการเฟ้นหาหัวหน้าพรรค มีการคัดหาผู้สมัคร ซึ่งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในครั้งนี้กำหนดให้มี สส จำนวน 480 คน แยกเป็น 400 คนมาจากการเลือกตั้ง  โดยใช้จังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง แบ่งเป็น 157 เขต มี สส 400 คน อีก 80 คน มาจากระบบสัดส่วน คือการแบ่งประเทศไทยออกเป็น 8 กลุ่ม แต่ละกลุ่มจะมี สส ได้ 10 คน การได้มาของสมาชิกวุฒิสภา สมาชิกวุฒิสภาจะมี 150 คน ได้มา 2 ทาง คือ ได้มาจากการเลือกของประชาชน 76 คน (จังหวัดละ 1 คน) และได้มาจากการสรรหาอีก 74 คน

อ้างอิงแหล่งที่มา;http://nucha.chs.ac.th/1.4.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น